20120901

กำเนิดคำว่า "นพรัตน์"


ที่มา

นพรัตน หรือ นวรัตน และ เนาวรัตน จากภาษาสันกฤต ซึ่งพ้องเสียงกับอีกหลาย ๆ ประเทศในดินแดนเอเชีย  สืบทอดต่อกันมาแต่ครั้งบุรพกาล ความสำคัญทั่วแดนสุวรรณภูมินับถือตรงกันว่า เป็นรัตนศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูง ซึ่งนอกเหนือจากศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป เข้าใจว่าชนเอเชียทั้งหลายให้การยอมรับและนับถือในสิริมงคลแห่งนพรัตน์

[แก้]กำเนิดของรัตน 9 ประการ

ในภาษาสันสกฤต เรียกขนานนามว่า "เนาวรัตน" รวมถึงภาษาฮินดี,พม่า,อินโดนีเซีย และเนปาล ส่วนในภาษาสิงหลเรียก "นวรัตเน" และในภาษาไทยเรียก "นพรัตน์" เป็นธรรมเนียมของรัตนโบราณที่อยู่คู่ดินแดนสุวรรณภูมิ แต่ดั้งเดิมจึงไม่ปรากฏที่มา
เกือบทุกประเทศในแถบเอเชียนับถือว่าเป็นรัตนสูงส่งของเทพ ซึ่งตกทอดสืบต่อกันมา ทั้งในประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา สิงคโปร์ พม่า กัมพูชาเวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย (โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา) 

[แก้]การประดับของราชสำนัก

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการ ครั้งหนึ่งพระพุทธชินราชเคยมีนพรัตน์สังวาลย์ทองคำแท้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ไว้ประดับ และยกย่องให้นพรัตนเป็นรัตนมงคลโบราณ ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์


เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์(ฝ่ายหน้า)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) องค์ประกอบสายสะพายชั้นเดียวของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ฯ
  • มหานพรัตน์ ด้านหน้าเป็นดอกประจำยามประดับ 9 รัตน ใช้ห้อยกับแพรแถบ สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย (สำหรับบุรุษ) ส่วนสำหรับสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
  • ดารานพรัตน์ เป็นรูปดาราประดับ 9 รัตน เหมือนมหานพรัตน
  • แหวนนพรัตน์ ทำด้วยทองคำเนื้อสูงและฝังพลอยมงคล 9 ชนิด (การพระราชทานแหวนนพรัตน์มายกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเปลี่ยนเป็นการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แทน แต่ยังคงพระราชทานแก่พระบรมวงศ์ษานุวงศ์ระดับสูงอยู่) ใช้สวมใส่ในงานมงคลเท่านั้น ให้สวมที่น้วชี้มือขวา
และนพรัตนยังเป็นส่วนหนึ่งของนามกรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชทานนาม โดยทรงเปรียบเทียบเมืองหลวงของไทยนี้ดั่งเมืองในสรวงสวรรค์แห่งเทพ อันเป็นที่มาของรัตนชาติทั้ง 9 ประการว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" 
ซึ่งจากเอกสารในหอสมุดของสยามสมาคมฯระบุว่าครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้นำกลอนนพรัตน์มาแต่งท่วงทำนองใช้ร้องเป็นระบำนพรัตน์กล่าวคือ "เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์ฯ"

[แก้]รัตนชาติกับดวงดาว

การให้ความหมายของรัตนชาติทั้ง 9 ประการนี้ท่านพันเอก (พิเศษ) ประจวบ วัชรปาณ และท่านเทพย์ สาริกบุตรได้ระบุไว้ใน"คัมภีร์ปาริชาตชาดก" (บทที่ 2 โศลก 21 หน้า 36-37)
"ทับทิมบริสุทธิ์ เป็นรัตนของอาทิตย์ ไข่มุกที่ขาวบริสุทธิ์โดยแท้ธรรมชาติ เป็นรัตนของจันทร์ ปะการังแก้วประวาล เป็นรัตนของอังคาร มรกต เป็นรัตนของพุธ บุษราคัม เป็นรัตนของพฤหัสบดี เพชร เป็นรัตนของศุกร์ ไพลิน เป็นรัตนของเสาร์ โกเมนเอก เป็นรัตนของราหู และไพฑูรย์ เป็นรัตนของเกตุฯ" กล่าวคือ
  • เพชรดี - คือรัตนของดาวพระศุกร์
  • มณีแดง - คือทับทิมบริสุทธิ์ของดาวพระอาทิตย์
  • เขียวใสแสงมรกต - คือรัตนของดาวพระพุธ
  • เหลืองสวยสดบุษราคัม - คือรัตนของดาวพระพฤหัสบดี
  • แดงแก่ก่ำโกเมนเอก - คือโคเมทส้มรัตนของดาวพระราหู
  • สีหมอกเมฆนิลกาฬ - คือไพลินรัตนของดาวพระเสาร์
  • มุกดาหารหมอกมัว - คือไข่มุกแท้รัตนของดาวพระจันทร์
  • แดงสลัวเพทาย - คือปะการังรัตนของดาวพระอังคาร
  • สังวาลย์สายไพฑูรย์ - คือเพชรตาแมวรัตนของดาวพระเกตุ

[แก้]ตารางความสัมพันธ์ของดวงดาวกับจักรราศี

ดวงดาวรัตนจักรราศี
พระอาทิตย์ทับทิมสิงห์
พระจันทร์มุกดากรกฎ
พระอังคารเพทายเมษ/พิจิก
พระพุธมรกตเมถุน/กันย์
พระพฤหัสบดีบุษราคัมธนู/มีน
พระศุกร์เพชรพฤษภ/ตุลย์
พระเสาร์ไพลินมังกร/กุมภ์
พระราหูโกเมนเอก-
พระเกตุไพฑูรย์-
หลักฐานอ้างอิงจากแหล่งอื่น นอกจากใน"คัมภีร์ปาริชาตชาดก" บทที่ 2 โศลก 21 หน้า 36-37 ซึ่งท่านพันเอก (พิเศษ) ประจวบ วัชรปาณ และเทพย์ สาริกบุตร เรียบเรียงเป็นสยามพากย์จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตโดยปราชญ์ไวทยะนาถ บุตรแห่งโยคีเวงกฎาทริ แล้ว โศลกเดียวกันนั้นบัญญัติไว้เช่นกันโดย เอส.เอ็ม ฐากูร (พ.ศ. 2422) ในพระคัมภีร์ "มณีมาลา" หน้า 575 โศลก 79 กล่าวคือ

มาณิคยัม ทาระเนฮ สุจัทยะมะมาลัม มุคตาภาลัม ษิตาโกฮ
มาเฮยัสยะ ชะ วิทรุโม นิกาดิทาฮ โสมยัสยะ-การุทมะทัม/
เดเวสยัสยะ ชะ พุษพาระกัม อสุระ-อัจฉริยัสยะ วัชรัม ษาเนร
นิลัม นิรมะลัมอันยะโยษชะ กาดิเต โกเมธะ-ไวฑูรยะเค//

คำแปล
  • 1) ทับทิม เพื่อ พระอาทิตย์
  • 2) ไข่มุก เพื่อ พระจันทร์
  • 3) เพทาย เพื่อ พระอังคาร
  • 4) มรกต เพื่อ พระพุธ
  • 5) บุษราคัม เพื่อ พระพฤหัสบดี
  • 6) เพชร เพื่อ พระศุกร์
  • 7) ไพลิน เพื่อ พระเสาร์
  • 8) โกเมนเอก เพื่อ พระราหู (ระนาบเหนือของพระจันทร์)
  • 9) ไพฑูรย์ เพื่อ พระเกตุ (ระนาบใต้ของพระจันทร์)
...รัตนชาติ ดังกล่าวนี้ ต้องคุณภาพสูงและปราศจากตำหนิ

นพรัตนธรรมจักร เก้ารัตนพิสุทธิ์ประดับตามตำแหน่งยันต์นพเคราะห์

[แก้]หลักการจัดเรียงประดับ

ธรรมเนียมของหลักการจัดเรียงประดับรัตนชาติทั้ง 9 ตามระบุในภาพนี้ กล่าวคือ ทับทิมเพื่อพระอาทิตย์ จะอยู่ที่ศูนย์กลางเสมอ และล้อมรอบ (ตามเข็มนาฬิกา) บนสุดคือ เพชร ไข่มุกแท้ธรรมชาติ ปะการังแดง โกเมนเอก ไพลิน ตาแมว บุษราคัม และ มรกต เป็นตำแหน่งในหลักการเดียวกันของยันต์นพเคราะห์ ตามหลักของกฏธรรมชาติ โดยมีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการไหลเวียนพลังงานในระบบสุริยจักรวาล และโปรดดูภาพตัวอย่างการประดับเรียง ในลักษณะสร้อยอย่างถูกต้องของ "สิรินพรัตนมหาราชินี" 

[แก้]อัญมณีพิสุทธิ์แห่งนพรัตน

โศลกจาก "มณีมาลา" ที่กล่าวไว้ข้างต้นมีนัยสำคัญคือ คำว่า"สุจัทยัม-อมาลัม" (สุชาติ = ชาติกำเนิดดี, และอมลา=บริสุทธิ์ ไร้มลทิน) อันเป็นความสำคัญบ่งบอกไว้ให้ทราบว่า ตามระบบความเชื่อถือของชาวเอเชียล้วนนับถือว่า อัญมณีที่มีสิริมงคลต้องคุณภาพดีปราศจากซึ่งตำหนิ
คำสอนสั่งที่ถูกมองข้ามไปนี้ยังมีข้อสนับสนุนจาก "พระครุฑโบราณ"บทที่ 68 โศลก 17 บัญญัติโดยพระสูตต์ โคสวามี ดังนี้ "รัตนชาติบริสุทธิ์ ปราศจากตำหนิ กอปรพลานุภาพที่มีสิริมงคล สามารถปกป้องคุ้มครองจากภยันตราย,อวิชา,งู,ยาพิษ,ความหายนะ และผลกรรมสนอง ในขณะชิ้นที่มีตำหนิจะส่งผลตรงข้าม"
และใน "พระอัคนีโบราณ" บทที่ 246 โศลก 7-8 ได้บัญญัติไว้แต่ครั้งบุรพกาล คือ "รัตนชาติปราศจากราคินและเปล่งประกายที่สะท้อนถึงความแวววาวรุ่งเรือง ควรถือเป็นสื่อนำซึ่งความโชคดี ส่วนชิ้นที่เกิดตำหนิข้างใน,แตกร้าว และไร้ความสุกใสแวววาวหรือขุ่นมัว ขรุขระ หยาบด้าน ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด"

[แก้]รัตนชาติในโหราศาสตร์โบราณ

จากหลักโหราศาสตร์โบราณของเอเชีย ชีวิตบนโลกล้วนขึ้นอยู่กับนพเคราะห์ หรือ 9 อิทธิพล ซึ่งตำแหน่งที่สถิตของนพเคราะห์ในแผนภูมิดวงชะตาของแต่ละบุคคล ล้วนส่งอิทธิพล ต่อดวงชีวิตของคนๆนั้น กล่าวกันว่าการสวมใส่ 9 รัตนชาติ จะช่วยให้ดวงดาวตามโหราศาสตร์สมดุล และมีสิริมงคลต่อผู้สวมใส่ ทางโหราศาสตร์เอเชียโบราณยังกล่าวว่าพลังรัตนชาติเหล่านี้ยังผลดีและผลลบต่อชีวิตมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการสวมใส่ดารารัตนชาติ จึงควรจำเป็นต้องปรึกษาโหรโบราณ ระบบพระเวท ควรเป็นผู้ที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางดารารัตนชาติเพื่อให้ต้องโฉลกต่อพื้นฐานดวงชะตาของแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเป็นเพียงรัตนเดี่ยวๆหรือการแนะนำให้ประดับรัตนที่สมพงษ์ร่วมในเรือนเดียวกัน 

No comments:

Post a Comment

share everything here!

สร้อยคอเม็ดอิตาลี 3มิติ 2กษัติรย์ มีให้เลือกระหว่าง ยาว 18นิ้ว หรือยาว 24 นิ้วสวมคอได้ งานแบบร้านเพชรร้านทอง ชุบเศษทองคำแท้ และเงินแท้ ตัดลายเม็ดมะยมวิ้งๆ งานสวย ปราณีต พร้อมถุงกำมะหยี่

Inspire Jewelry สร้อยคอเม็ดอิตาลี 3มิติ 2กษัติรย์ มีให้เลือกระหว่าง ยาว 18นิ้ว หรือยาว 24 นิ้วสวมคอได้ งานแบบร้านเพชรร้านทอง ชุบเศษทองคำแท...