20120420

การหล่อแบบขึ้นรูปทองเหลือง


ทองเหลืองคืออะไร ทำไมต้องใช้ทองเหลืองทำเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ มากมาย




















ทองเหลือง (Brasses)
เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยสังกะสีสามารถละลายในทองแดงให้สารละลายของแข็ง (solid solution) ได้สูงถึง 39 % และถ้าผสมสังกะสีมากกว่านี้จะได้สารประกอบเชิงโลหะระหว่างทองแดงกับสังกะสีหลายชนิด ซึ่งมีผลทำให้ความแข็งแรง ความแข็ง ความเหนียวและสมบัติทนการกัดกร่อน ตลอดจนสีของทองเหลืองเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของสังกะสีที่ผสม
ทองเหลืองที่ใช้งานกันเป็นประจำมักมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น
  • ทองเหลืองที่ผสมสังกะสีไม่เกิน 5 % มีชื่อเรียกทางการค้าว่า glinding metal ใช้ทำเหรียญ
  • ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 10 % เรียก commercial bronze มีสมบัติและการใช้งานคล้ายคลึงกับ glinding metal
  • ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 12.5 % เรียก jewelry bronze หรืองทองเหลืองทำเครื่องประดับ
  • ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 15 % เรียก red brass
  • ทองเหลืองที่ผสมสังกะสี 30% เรียก cartridge brass หมายถึง ทองเหลืองที่ใช้ทำปลอกกระสุนปืน เป็นต้น




การขึ้นรูปและหล่อทองเหลืองกว่าจะได้สักชิ้นยากเย็นแค่ไหน?

ช่างทำต้นแบบเป็นผู้ที่สร้างต้นแบบขึ้นจากแบบ ช่างอาจจะเลือกโลหะหรือ Wax ซึ่งเป็นระดับปานกลางสำหรับการสร้างต้นแบบ ขึ้นอยู่กับสไตล์หรือรูปร่างของชิ้นงานเครื่องประดับ วิธีหนึ่งก็คือ การใช้โลหะ เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นงานช่างทอง ต้นแบบเหล่านี้จะถูกประกอบขึ้นมาจากแผ่นโลหะและลวด การขึ้นเป็นรูปร่างต่างๆจะแยกกันทำแล้วจึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน



การทำต้นแบบอีกวิธีหนึ่งจะทำมาจาก Wax ซึ่งจะเป็นการเตรียมการสู่งานหล่อ เนื่องจากมี Wax หลายชนิดที่แตกต่างกันและมีเทคนิคในการทำ Wax ที่แตกต่างกันด้วย วิธีนี้จึงเป็นการเสนอขอบเขตกว้างๆของความเป็นไปได้ในการออกแบบ รวมทั้งเปิดโอกาสในการใช้ความคิดและจินตนาการ วิธีการนี้เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในกระบวนการหล่อสำหรับงานผลิตจิวเวลรี่แบบปริมาณมากๆ (Mass Production) ซึ่งจะเป็นวิธีการที่เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักออกแบบหลายๆคนในการทำต้นแบบจาก Wax สำหรับการสร้างสรรค์แบบนั้น ช่างทำต้นแบบอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือจะใช้ประกอบกันทั้งสองวิธีก็ได้
ถ้าต้นแบบ Wax ถูกทำขึ้นมาสำหรับการนำไปผลิตซ้ำ หลังจากที่หล่อเป็นโลหะแล้ว ก็จะถูกนำไปทำความสะอาดและเตรียมสำหรับการทำแม่พิมพ์ยาง (ถ้าต้นแบบประดิษฐ์ขึ้นในรูปของโลหะ  ก็ไม่จำเป็นต้องนำไปหล่อ ต้นแบบนั้นจะถูกส่งตรงไปทำแม่พิมพ์ยาง)
เมื่อใดที่การออกแบบของคุณได้สำเร็จลงอย่างสมบูรณ์แล้ว แบบนั้นก็จะถูกส่งเข้าสู่สายการผลิต ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับแบบที่คุณสร้างสรรค์ไว้ดูเหมือนว่าจะนอกเหนือการควบคุมของคุณ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจของคุณในเรื่องการผลิตชิ้นงานเครื่องประดับ จะถูกแทรกเข้าไปในแบบของคุณแล้วเมื่อตอนออกแบบ คุณจึงสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นมากถึงสิ่งที่คุณต้องการ เพื่อให้ได้เห็นผลลัพธ์ตามที่คุณคาดหวังไว้ แบบที่ดีนั้น เป็นมากกว่าการร่างภาพ แต่เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวสำหรับชิ้นงานเครื่องประดับ
ในการเริ่มต้น จำไว้ว่าการแสดงภาพจำลองของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการแสดงภาพ Perspective จะเป็นเรื่องของ “การตีความ” คน 2 คนอาจตัดสินขนาดและสัดส่วนออกมาด้วยวิธีที่แตกต่างกันอย่างมาก การพิจารณาในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้คุณมีความรู้เพียงพอที่จะร่างภาพชิ้นงานให้ออกมาเป็นแบบที่นำไปใช้ได้จริงๆ
อย่าทำงานเพียงคนเดียว ให้ออกไปพบปะพูดคุยกับช่างขึ้นรูป (Model Maker) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันและสำรวจหาสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ
พูดคุยกับช่างหล่อ, ช่างแกะ Wax และช่างที่ประกอบชิ้นงาน, ช่างฝังเพชรพลอยและช่างขัด เพื่อค้นหาคำตอบให้ได้ว่าสิ่งใดที่ทำได้ สิ่งใดที่ทำไม่ได้กับแบบที่คุณได้สร้างไว้แล้ว และจงสอบถามความเห็นเพื่อให้ได้แบบที่ดีที่สุดสำหรับการผลิตที่จะไม่เกิดปัญหาใด ๆ
ในหน้าต่อ ๆ ไป คุณจะได้เยี่ยมชมแต่ละฝ่ายงานของการผลิตงานเครื่องประดับ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณได้ขยายความเข้าใจในกระบวนการผลิตให้มากขึ้นอีกได้

การทำแม่พิมพ์ยาง   แม่พิมพ์ยางจะถูกทำขึ้นล้อมรอบต้นแบบ ในการสร้างแม่พิมพ์ยางนั้น ต้นแบบจะถูกวางอยู่ในกรอบและถูกรัดอย่างดีกับแผ่นยางพิเศษวางอยู่ในเครื่องอัดแม่พิมพ์ยาง (Vulcanizer) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ความร้อนและความดันในการอัดยางให้ไหลไปรอบๆแบบทั่วทั้งหมด

เมื่อแม่พิมพ์เย็นลง ก็จะใช้มีดในการตัดเปิดแม่พิมพ์ การตัดแยกอย่างชำนาญจะต้องเป็นการตัดแยกโดยที่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมการ “ล็อค” ไปด้วยในตัว ซึ่งจะทำให้ทั้งสองส่วนพอดีกัน เมื่อต้นแบบถูกแยกออกจากกัน ก็จะเปิดให้เห็นช่องข้างใน และแม่พิมพ์นั้นก็จะพร้อมสำหรับการสร้างต้นแบบ Wax ได้อีกเป็นร้อยๆแบบ
 การฉีดต้นแบบ Wax   ขั้นต่อไปจะเป็นการผลิตแบบตัวอย่าง หรือ Wax Copy ของชิ้นงาน ซึ่งเป็นการถอดแบบมาจากต้นแบบอย่างแท้จริง Wax ที่ถูกทำให้ร้อนจะถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ยาง ไหลผ่านรูแคบๆเข้าไปเติมเต็มเนื้อที่ช่องว่างข้างใน เพียงไม่ถึงนาที แบบตัวอย่าง Wax ก็จะเย็นตัวลงและพร้อมที่จะเอาออกจากแม่พิมพ์
แบบตัวอย่างแต่ละแบบจะถูกตรวจสอบหาข้อบกพร่องของตัวแบบอย่างระมัดระวัง เช่น โพรงอากาศใน WAX ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำให้เป็นสุญญากาศ ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่องานหล่อได้ ส่วนที่ไม่สมบูรณ์ใดๆหรือส่วนที่ผิดรูปผิดร่างไปของแบบตัวอย่างจะถูกไปทำให้เกิดซ้ำในโลหะ ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจหาในขั้นตอนนี้ ส่วนที่ไม่สมบูรณ์ใดๆหรือจุดอ่อนที่มา จากโพรงซึ่งเป็นทางเดินของ Wax นั้นก็มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในขั้นตอนการหล่อเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจสอบโพรงดังกล่าวด้วย
ให้สอบถามช่างที่ทำ Wax เพื่อให้ทราบถึงจุดที่จะเป็นปัญหาได้ เช่น แบบที่ทำให้ Wax สามารถไหลไปได้ดี หรือ แบบที่จะทำให้ Wax ไม่สามารถเติมเต็มได้ และเป็นสาเหตุให้เกิดงาน Reject อยู่บ่อยๆ ให้หาทางเรียนรู้สิ่งที่จะทำให้ดีขึ้นได้พร้อมทั้งหาเหตุผล
แบบตัวอย่างมากกว่าหนึ่งแบบสามารถทำการหล่อได้ในครั้งเดียว แบบตัวอย่างหลายๆแบบอาจจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มและนำไปติดกับฐานของต้นเทียน หรือ แบบตัวอย่างหลายๆอันอาจจะติดอยู่กับต้นเทียนซึ่งเป็นรูปลักษณะคล้ายต้นไม้ก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณที่ทำการหล่อ แต่วัตถุประสงค์และหน้าที่ยังคงเป็นเหมือนเดิม คือ เพื่อรองรับ Wax สำหรับเตรียมเข้าสู่การหล่อ
แบบตัวอย่างจะถูกทำให้ติดอยู่กับโพรงซึ่งจะทำมุมในลักษณะลู่ลง ซึ่งจะเป็นการสร้างให้ทางเดินของ Wax ที่ละลายสามารถไหลออกมาได้โดยสะดวก และสำหรับโลหะที่ร้อนสามารถไหลเข้าไปได้ในระหว่างการหล่อ แบบตัวอย่างแต่ละแบบจะถูกติดอย่างระมัดระวัง และต้องเว้นช่องไฟไม่ให้ชิ้นงานรบกวนกันในระหว่างที่ทำการหล่อ
 เบ้าและการเทปูนลงเบ้า  ปูนหล่อทองเป็นวัสดุที่สามารถต้านทานความร้อนสูง เป็นวัตถุดิบที่มีลักษณะคล้ายปูนปลาสเตอร์ซึ่งจะถูกนำมาผสมกับน้ำ ผ่านสุญญากาศเพื่อทำให้ฟองอากาศหายไป แล้วเทลงไปบนแบบตัวอย่าง Wax และเมื่อปูนหล่อทองแข็งตัว ก็จะขึ้นรูปเป็นพิมพ์สุดท้ายสำหรับการนำไปทำการหล่อโลหะ
เบ้ามีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกที่ทำมาจากเหล็ก หรืออาจเป็นวัสดุที่ดีกว่าคือสแตนเลส โดยจะถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ตั้งตรงและพอเหมาะกับตัวฐาน ซึ่งถูกทำขึ้นมาสำหรับรองรับแบบตัวอย่าง Wax โดยรอบ
ในขั้นตอนของการเทปูนลงเบ้านี้ ตัวปูนจะถูกเทเข้าไปในเบ้าอย่างระมัดระวังและไม่ให้กระทบกับแบบตัวอย่าง Wax แต่ละเบ้าที่ได้เทปูนลงไปแล้วจะถูกวางใต้ปล่องสุญญากาศที่ซึ่งสุญญากาศจะถูกปล่อยออกมาจากปั๊มสุญญากาศ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเคลื่อนย้ายหลุมหรือฟองอากาศที่ติดอยู่ในเบ้าอีกครั้ง
หากฟองอากาศยังไม่สามารถกำจัดออกไปได้  ฟองอากาศเหล่านี้ จะทำให้เกิดความเสียหายเมื่อทำการหล่อ เนื่องจากในขณะที่โลหะร้อนถูกเติมเข้าไปในโพรง/ช่องว่างของแบบตัวอย่าง ช่องอากาศส่วนเกินที่อยู่รอบๆแบบตัวอย่างจะถูกเติมเต็มด้วยโลหะเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดรอยนูนของโลหะที่ไม่ต้องการติดอยู่ที่แบบตัวอย่างสำหรับงานหล่อด้วย














การเผา   หลังจากขั้นตอนการทำสุญญากาศ ซึ่งได้เบ้าปูนมาแล้ว จะทำการเอาฐานออกและนำตัวเบ้าเข้าสู่เตาเผาสำหรับเผา ขั้นตอนการเผานี้ จะเป็นการกำจัดแบบตัวอย่าง Wax ที่อยู่ภายในเบ้าปูนออกไปโดยการให้ความร้อนที่ตัวเบ้า ช่องที่ติดอยู่กับแบบตัวอย่างแต่ละอันจะเป็นช่องทางสำหรับการไหลออกของ Wax ที่ละลายตัวออกมา และในเวลาเดียวกัน ก็จะเป็นช่องสำหรับโลหะที่หลอมเหลวจะเข้าไปในโพรงของตัวแม่พิมพ์ในกระบวนการหล่อ เมื่อใดที่ Wax ละลาย เตาเผาจะยังคงให้ความร้อนกับตัวเบ้าอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการหล่อ
การหล่อ  เครื่องจักรสำหรับงานหล่อเครื่องประดับ มี 2 ประเภท คือ เครื่องหล่อเหวี่ยง และ เครื่องหล่อสุญญากาศ เครื่องหล่อเหวี่ยงจะใช้การเคลื่อนที่แบบหมุนเพื่อใช้แรงในการผลักให้โลหะที่หลอมเหลวไหลเข้าสู่ตัวแม่พิมพ์ เครื่องหล่อสุญญากาศจะใช้สุญญากาศและแรงดึงดูดของโลกในการดึงดูดโลหะเข้าสู่โพรงที่ตัวแม่พิมพ์
เครื่องแต่ละประเภทรวมถึงตัวเบ้าหลอม ซึ่งเป็นภาชนะขนาดเล็กที่บรรจุโลหะที่หลอมเหลวแล้ว และสามารถต้านทานความร้อนสูงได้ โดยจะมีช่องหรือรูอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง ทั้งนี้ เม็ดโลหะซึ่งถูกบรรจุในเบ้าหลอมจะถูกทำให้ละลายก่อนด้วยตะเกียงพ่น นอกจากนี้ โลหะอาจถูกทำให้ละลายได้อีกวิธีหนึ่ง โดยเบ้าหลอมกราไฟต์ซึ่งได้รับความร้อนจากไฟฟ้า ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ด้วยเครื่องมือวัดหรือเครื่องวัดอุณหภูมิสูง สำหรับเครื่องหล่อที่มีความซับซ้อนกว่านี้จะใช้เตาหลอมที่มีการเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าสลับด้วยความถี่สูงในการทำให้เกิดการละลายอย่างรวดเร็ว
สำหรับเครื่องหล่อแบบเหวี่ยง เบ้าจะถูกเคลื่อนย้ายจากเตาเผาและถูกวางในแนวนอนภายในตัวเครื่อง ตัวเบ้าหลอมจะถูกวางในแนวเดียวกันกับเบ้า ช่างหล่อจะหลอมโลหะที่อยู่ในเบ้าหลอม และเฝ้าดูจนกว่าโลหะจะหลอมจนได้สภาพที่เหมาะสม จากนั้น ช่างหล่อก็จะเริ่มเดินเครื่องโดยปล่อยให้เบ้าเริ่มเคลื่อนไหวไปตามแรงเหวี่ยงของเครื่อง แรงขับดันที่เกิดขึ้นจากแรงเหวี่ยงจะเป็นตัวที่ดันให้โลหะไหลเข้าสู่โพรงที่ตัวแม่พิมพ์
สำหรับวิธีการทำงานของเครื่องหล่อสุญญากาศ เบ้าจะถูกเคลื่อนย้ายจากเตาเผาและนำมาวางไว้ในตัวแม่พิมพ์ที่มีช่องเปิดด้านบน โลหะจะถูกทำให้ละลายในเบ้าหลอมแล้วจึงไหลลงสู่แม่พิมพ์ที่เปิดไว้ ในขณะเดียวกัน ระบบสุญญากาศก็เริ่มทำงาน ซึ่งจะทำการสูบอากาศออกจากแม่พิมพ์และดูดโลหะที่หลอมเหลวแล้วกลับเข้าไปในโพรงที่ตัวแม่พิมพ์
การปฏิบัติการหลังกระบวนการหล่อ   หลังจากกระบวนการหล่อได้เสร็จสิ้นแล้ว เบ้าก็จะถูกย้ายไปยังหน่วยงานถัดไป ปูนหล่อทองจะถูกทำให้หลวมโดยการนำเบ้าไปวางไว้ในถังน้ำเย็น ช่างหล่อก็จะเคลื่อนย้ายปูนหล่อซึ่งยังติดแน่นอยู่ด้วยกันไปสู่งานหล่อพร้อมทั้งน้ำและแปรงแข็งหรือน้ำที่รักษาระดับความกดอากาศให้ปกติ
ชิ้นงานหล่อจะถูกตัดโดยใช้เครื่องมือตัด (Sprue Cutter) เพื่อแยกชิ้นงานออกจากต้นไม้หรือฐานของมัน (Sprue Base) จากนั้น ให้ทำความสะอาดด้วยกรดเพื่อล้างเอาอ็อกไซด์หรือวัตถุใดๆที่เคลือบปูนหล่ออยู่ออกไป
สุดท้าย ชิ้นงานจะถูกตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เพื่อดูว่าชิ้นงานแต่ละชิ้นถูกเติมให้เต็มหรือไม่ (ให้ดูทุกเนื้อที่ของแหวนรวมทั้งตามง่ามหรือซอกมุมต่างๆว่ามีความสมบูรณ์) นั่นคือ โลหะจะแข็งตัวโดยไม่มีรูเล็กๆซึ่งจะส่งผลให้พื้นผิวหน้าเสียหายได้ (เรียกว่า เป็นรูพรุน)
เมื่อสอบถามช่างหล่อถึงปัญหาเรื่องการเกิดรูพรุน ซึ่งจะส่งผลต่อแบบของชิ้นงานนั้น และจะทำอย่างไรปัญหานี้จึงจะลดน้อยลงได้ ทั้งนี้ รูพรุน เป็นตัวบ่งชี้ถึงรูเล็กๆที่ผิวหน้าของโลหะ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงงานหล่อที่ถูกทำลาย รูพรุนที่ผิวหน้าในบางครั้งสามารถหายไปได้จากการขัดตบแต่งถ้าเป็นรูเล็กๆ อย่างไรก็ตาม มักพบว่ารูพรุนเหล่านี้ จะปรากฏไปทั่วโลหะ
การเกิดรูพรุนเป็นผลมาจากหลายๆสาเหตุ บางครั้งถูกพบในขั้นตอนของกระบวนการผลิต (ฟองอากาศ, รอยแตกของปูนหล่อทอง, การมีสิ่งปนเปื้อนที่เม็ดโลหะ, หรือ โลหะที่หลอมเหลวเย็นตัวลงช้าเกินไปในขณะที่หล่องาน) สาเหตุอื่นๆถูกพบในขั้นตอนของการขึ้นรูปชิ้นงาน (โพรงของต้นเทียนที่ไม่เหมาะสม, แบบดีไซน์ที่ต้องการต้นเทียนที่ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติในกระบวนการผลิตได้, หรือ แบบดีไซน์ซึ่งส่วนที่เป็นเนื้อที่กว้างของตัวแหวนอยู่ติดต่อกับเนื้อที่ส่วนแคบซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลของเนื้อโลหะ)
การทำความสะอาดและการประกอบ   งานในส่วนของการประกอบนั้น ช่างเครื่องประดับจะต้องนำส่วนของก้านที่เป็นส่วนเกินจากการตัดต้นแบบโลหะที่ยังคงค้างอยู่บนชิ้นงานออกไปโดยใช้ล้อขัดหินเจียระไน ต่อจากนั้น ช่างฝีมือจะทำความสะอาดชิ้นงานด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกัน แต่เปลี่ยนหัวไปใช้ล้อขัดแบบแปรงทำความสะอาด  งานหล่อที่ยังไม่สมบูรณ์อีกเล็กน้อยอาจจะแก้ไขด้วยการตะไบตบแต่งและกระดาษขัดเงา
ก่อนทำการประกอบแหวน ส่วนประกอบต่างๆจะต้องถูกขัดก่อน โดยเฉพาะเนื้อที่ส่วนที่ติดต่อกับส่วนอื่นๆซึ่งจะมีความยากลำบากในการขัดแต่งหลังจากที่ทำการประกอบแล้ว
ถังขัดแบบแนวนอนจะถูกนำมาใช้ในการขัดเกลาพื้นผิวที่ยังไม่สมบูรณ์ การหมุนของถังขัดจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆมีพื้นผิวที่ราบเรียบและมีความเป็นมันเงาแววาว ซึ่งจะเป็นการช่วยลดเวลาในการขัดแต่งโดยใช้มือลงได้
ขณะนี้ ชิ้นงานเครื่องประดับพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่กระบวนการประกอบ ซึ่งช่างจะต้องใช้ล้อขัดหินเจียระไน, อุปกรณ์ในการเชื่อม, และเครื่องมือชนิดต่างๆที่ออกแบบมาเพื่อการผลิตงานเครื่องประดับ ส่วนประกอบต่างๆของชิ้นงานหรือแหวนซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนการหล่อ เช่น ส่วนประกอบสำเร็จรูปต่างๆ จะถูกนำมาเชื่อมในขั้นตอนนี้
การเรียนรู้ถึงปัญหาทั่วๆไปที่เกิดขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆ ของดีไซน์ รวมถึงวิธีการต่างๆที่มีประสิทธิภาพกับงานของคุณ จะนำมาซึ่งกระบวนการคิดที่ดีและง่ายต่อการนำชิ้นงานมาประกอบเข้าด้วยกัน

 งานฝัง   ในขั้นนี้ ช่างฝังจะประดับพลอยที่ตัวชิ้นงานหรือที่แหวน ไม่ว่าจะเป็นงานฝังในรูปแบบใด โลหะที่อยู่ล้อมรอบเม็ดพลอยจะต้องสามารถยึดตัวพลอยให้แน่นหนาได้  แหวนที่มีการออกแบบที่ดีจะต้องนึกถึงหน้าที่ในเรื่องของการยึดเม็ดพลอยให้แน่นหนาเข้าไว้ด้วย รวมถึงความสามารถในการแสดงถึงความงดงามของเม็ดพลอยที่นำมาประดับด้วย

ช่างฝังจะทำงานโดยใช้เครื่องมือทั้งที่มีมอเตอร์ประกอบหรือไม่มีก็ได้ในการทำงานฝัง ซึ่งเครื่องมือที่มีมอเตอร์ประกอบจะสามารถประกอบกับหัวสว่านในรูปแบบที่แตกต่างกันสำหรับใช้ในการตะไบตบแต่ง หากเป็นงานฝังที่มีซอกมุม แต่ละซอกมุมจะต้องประกอบด้วยเนื้อโลหะที่เพียงพอในการให้ช่างฝังสามารถทำเป็นที่นั่งรองรับเม็ดพลอยได้ รวมถึงการตะไบและการปรับแต่งพื้นที่รอบๆเม็ดพลอยได้
เมื่อสอบถามช่างฝังถึงการฝังพลอยและทำการสังเกตการณ์ในแต่ละขั้นตอน ให้ช่างฝังนำชิ้นงานชิ้นงานฝังซึ่งใช้เทคนิคในการฝังที่แตกต่างกันมาให้ดู เช่น การฝังแบบ Pave’ หรือ การฝังแบบช่องสะพาน ให้ลองค้นหาว่าอะไรคือข้อบกพร่องของแบบซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการฝังได้ ขณะที่คุณได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคในการฝังและการออกแบบงานฝัง จะส่งผลให้การออกแบบของคุณสามารถนำไปใช้งานจริงได้มากขึ้น

งานขัด  กระบวนการขัดจะสามารถสำเร็จลงได้ต้องอาศัยเครื่องขัดแบบมอเตอร์ซึ่งมีแกนหมุน 2 แบบอยู่ที่แต่ละข้าง คือ แกนหมุนที่เป็นวงล้อขัดแบบแปรง และ วงล้อขัดแบบผ้า ซึ่งที่วงล้ออาจจะเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เป็นกระดาษทรายหรือโลหะสำหรับขัดอื่นๆ ช่างขัดจะทำตามลำดับขั้นของการขัดแต่ง โดยเริ่มจากงานที่มีความหยาบกระด้างและขัดแต่งจนมีความเป็นมันวาวสูง โดยมีการเลือกใช้วงล้อที่แตกต่างกันพร้อมด้วยยาขัดโลหะ





การขัดแต่งชิ้นงานเครื่องประดับในขั้นตอนสุดท้ายต้องอาศัยความสามารถพิเศษของช่างขัด ช่างขัดที่ดีจะต้องมีความคุ้นเคยกับเทคนิคในการขัดแต่งที่แตกต่างกัน เช่น Metal Coloring, Sand Blasting และ เงิน, ทอง, Rhodium Platingอัญมณีซึ่งมีมูลค่าสูงและเปราะบาง เช่น มรกต, ไข่มุก อาจถูกทำให้เสียหายได้จากวิธีการขัดบางวิธี ตลอดกระบวนการของการขัด ซึ่งรวมถึงการทำความสะอาดในขั้นสุดท้ายด้วยอุลตร้าโซนิคและเครื่องจักรที่ใช้ไอน้ำ ช่างขัดจะต้องระวังรักษาอัญมณีโดยต้องมีความรู้ในการบำรุงรักษาที่เหมาะสม
การซอกซอนเข้าสู่พื้นผิวที่ยากต่อการเข้าถึงนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ขั้นตอนการทำงานแบบพิเศษ ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบนั้นอาจยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและครอบคลุมมาถึงกระบวนการขัดด้วย ผลก็คือ จะทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ จึงควรมีการพูดคุยกันถึงเรื่องของการออกแบบที่ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาเหล่านี้ด้วย




No comments:

Post a Comment

share everything here!

สร้อยคอเม็ดอิตาลี 3มิติ 2กษัติรย์ มีให้เลือกระหว่าง ยาว 18นิ้ว หรือยาว 24 นิ้วสวมคอได้ งานแบบร้านเพชรร้านทอง ชุบเศษทองคำแท้ และเงินแท้ ตัดลายเม็ดมะยมวิ้งๆ งานสวย ปราณีต พร้อมถุงกำมะหยี่

Inspire Jewelry สร้อยคอเม็ดอิตาลี 3มิติ 2กษัติรย์ มีให้เลือกระหว่าง ยาว 18นิ้ว หรือยาว 24 นิ้วสวมคอได้ งานแบบร้านเพชรร้านทอง ชุบเศษทองคำแท...